เลนส์เว้า
เลนส์เว้า (concave lens) คือ เลนส์ที่มีผิวโค้งเข้าด้านใน มีขอบหนา และตรงกลางบาง แสงที่ผ่านเลนส์เว้าจะกระจายออก เลนส์เว้านำมาใช้ในกล้องโทรทรรศน์, กล้องจุลทรรศน์ และแว่นตา สำหรับในแว่นตานั้น เลนส์เว้าช่วยปรับสายตาสำหรับคนสายตาสั้นได้ เลนส์เว้าสามารถสร้างภาพเสมือนได้
เลนส์เว้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
นิโคลัสแห่งคูซา เชื่อว่าเขาเป็นคนแรกที่ค้นพบประโยชน์ของเลนส์เว้าในการรักษาสายตาสั้น เมื่อ ค.ศ. 1451
เปรียบเทียบ: เลนส์นูน
ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้า
- วัตถุอยู่ไกลมาก แสงจากวัตถุขนานกับแกนมุขสำคัญ หักเหผ่านเลนส์เว้า เป็นรังสีปลายบานเข้าสู่ตาผู้สังเกต ผู้สังเกตจะมองเห็นภาพที่จุดโฟกัสเสมือนเป็นภาพเสมือน ขนาดเล็กมาก ข้างเดียวกับวัตถุ
- ไม่ว่าวัตถุจะอยู่ที่ใด จะได้ภาพเสมือนหัวตั้ง ขนาดเล็กกว่าวัตถุ และอยู่ด้านเดียวกับวัตถุ
สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เลนส์เว้าแว่นตาสำหรับคนสายตาสั้น
เลนส์นูน
เลนส์นูน (convex lens) คือ เลนส์ที่โค้งออกด้านนอก มีขอบแคบ และตรงกลางกว้าง แสงที่ผ่านเลนส์นูนจะรวมเป็นจุดเดียว เรียกจุดนี้ว่าจุดโฟกัส เลนส์นูนสามารถสร้างภาพจริงหรือภาพเสมือนได้
เลนส์นูน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
เปรียบเทียบ: เลนส์เว้า
ภาพที่เกิดจากเลนส์นูน
- วัตถุอยู่ไกลมาก แสงจากวัตถุขนานกับแกนมุขสำคัญ หักผ่านเลนส์นูนไปตัดกันได้ภาพจริงขนาดเล็กที่สุดที่จุดโฟกัส
- วัตถุอยู่ห่างจากเลนส์มากกว่า 2F (สองเท่าของจุดโฟกัส) ได้ภาพจริงหัวกลับ ขนาดเล็กกว่าวัตถุ
- วัตถุอยู่ห่างจากเลนส์เท่ากับ 2F ได้ภาพจริงหัวกลับขนาดเท่าวัตถุที่ระยะ 2F
- วัตถุอยู่ระหว่างจุด F กับจุด 2F จะได้ภาพจริงหัวกลับขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
- วัตถุอยู่ที่จุดโฟกัส ได้ภาพขนาดใหญ่มากที่ระยะอนันต์
- วัตถุอยู่ระหว่าง F (จุดโฟกัส) กับเลนส์ เกิดภาพเสมือนหัวโค้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุอยู่ข้างเดียวกับวัตถุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น